ปุ่ม "สารบัญ" อยู่ตำแหน่งบนขวาสุดใช้เพื่อดูหัวข้อบทความทั้งหมดของบล็อกนี้ครับ
Loading...

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การสร้างรหัสสี (Making Color Code)

รหัสสี(Color Code) เกิดจากการผสมกันของ 3 แม่สีคือ แดง(Red), เขียว(Green) และน้ำเงิน(Blue) หรือที่นิยมเรียกว่า RGB โดยปรกติรหัสสีที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะมีทั้งหมด 6 ตัวอักษรและต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ ยกตัวอย่างเช่น aabbcc โดยที่ aa แทนด้วยรหัสสีแดง bb แทนด้วยรหัสสีเขียว และสุดท้าย cc แทนด้วยรหัสสีน้ำเงิน บางครั้งอาจใช้แค่ 3 ตัวอักษร คือ abc ก็ได้ แต่ความละเอียดของการผสมสีจะมีน้อยกว่า ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัว แท้จริงแล้วก็คือค่าตัวเลขฐานสิบหก เริ่มต้นจาก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 a b c d e f เนื่องจากว่าเราไม่สามารถที่จะเขียนเป็น 10 11 12 13 14 15 ได้ก็เลยใช้เป็นอักษรภาษาอังกฤษแทน

การใช้ 3 ตัวอักษรดังตัวอย่าง abc แต่ละตัวจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 - 15 เพราะฉะนั้นจำนวนสีที่เราจะได้ก็คือ 16 x 16 x 16 = 4,096 สี ถ้าเป็น 6 ตัวอักษรก็จะได้เป็น 16 x 16 x 16 x 16 x 16 x 16 = 16,777,216 สี

การตั้งค่าแต่ละสีมีหลักการคือ ถ้าตัวเลขมากก็จะให้สีนั้นมาก เช่น ถ้าต้องการสีแดงเต็มกำลังก็ให้ใช้รหัส #ff0000 หรือจะใช้ 3 ตัวอักษร คือ #f00 ก็จะได้ผลที่ไม่แตกต่างกัน หรือถ้าต้องการสีเหลืองเต็มกำลัง ก็ให้ผสมระหว่างแม่สีแดงกับเขียน ก็จะได้รหัส #ffff00 หรือ #ff0 ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ

ชื่อ รหัสสี ชื่อ รหัสสี ชื่อ รหัสสี ชื่อ รหัสสี
black #000000 silver #c0c0c0 maroon #800000 red #ff0000
navy #000080 blue #0000ff purple #800080 fuchsia #ff00ff
green #008000 lime #00ff00 olive #808000 yellow #ffff00
teal #008080 aqua #00ffff gray #808080 white #ffffff

สำหรับรหัสสีสามารถคลิ๊กดูได้ ที่นี่

0 ความคิดเห็น:

 
TopBottom