ปุ่ม "สารบัญ" อยู่ตำแหน่งบนขวาสุดใช้เพื่อดูหัวข้อบทความทั้งหมดของบล็อกนี้ครับ
Loading...

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การสร้างบทความ

การสร้างบทความสามารถเข้าสู่หน้าของการสร้างได้ 2 ทาง คือ
สร้างโดยผ่านทางหน้าแผงควบคุม(Dashboard) โดยการคลิ๊กไปที่แถบสีฟ้าคำว่า บทความใหม่
สร้างโดยผ่านทางหน้าบล๊อกของเราแล้วคลิ๊กไปที่ การส่งบทความ
หลังจากที่เราเข้าสู่หน้าการสร้างบทความด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หน้าเว็บถัดไปก็จะแสดงดังรูปข้างล่างนี้ ก็ขออธิบายตามลำดับหมายเลขเลยน๊ะครับหมายเลข 1 ชื่อเรื่อง ใช้สำหรับการตั้งชื่อเรื่องที่เราต้องการนำเสนอ เหมือนกับชื่อสารบัญในหนังสือนั่นแหละครับ หรือหัวข้อต่าง ๆ ที่เราต้องการนำเสนอนั่นเอง

หมายเลข 2 ลิงก์ ปกติแล้วจะไม่แสดง แต่สามารถตั้งค่าได้โดยให้ไปที่ การตั้งค่า | การจัดรูปแบบ และเลื่อนไปจนถึงด้านล่างสุด และตั้งค่า แสดงช่องลิงก์ เป็น ใช่ และคลิกปุ่ม บันทึก จะมีประโยชน์มากถ้าบทความบล็อกของคุณมีข้อมูลเกี่ยวกับบทความอื่นอยู่บ่อยๆ และคุณต้องการให้เห็นลิงก์ไปยังบทความเหล่านั้นโดยง่ายบนบล็อกสาธารณะของคุณ จะกล่าวโดยละเอียดต่อไปในภายหลัง

หมายเลข 3 แก้ไข Html ในส่วนนี้จะเป็นการเขียนบทความโดยอาศัยภาษา Html ซึ่งสามารถที่จะสร้างลูกเล่นต่าง ๆ ให้กับบทความของเราได้หลากหลายยิ่งขึ้น โปรดติดตามในเรื่องของการเขียน Html ในบทความต่อ ๆ ไป หรืออาจจะหาอ่านดูตามเว็บไซด์ต่าง ๆ ก็มีให้ศึกษาหลาย ๆ เว็บไซด์ด้วยกัน ข้อดีประการหนึ่งในส่วนนี้ก็คือ เราสามารถคัดลอกตัวหนังสือจากที่อื่นมาแปะที่ช่องการเขียนด้วยภาษา Html ได้ จะทำให้รูปแบบที่คัดลอกมาเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับบล๊อกของเราอย่างอัตโนมัติ

หมายเลข 4 เขียน โดยปกติแล้วเราจะเริ่มต้นในการเขียนโดยใช้ช่องทางนี้เป็นหลัก นั่นก็คือ เราเขียนยังไงก็ได้แบบนั้น เหมือนกับการเขียนลงใน Microsoft Word นั่นแหละครับ ไม่มีอะไรซับซ้อน

หมายเลข 5 แสดงตัวอย่าง ส่วนนี้มีไว้สำหรับแสดงตัวอย่างของบทความที่เขียนเสมือนหน้าเว็บเพจจริงที่จะนำออกไปแสดงสู่สาธารณะชนทั้งหลาย

หมายเลข 6 ตัวเลือกของบทความ ส่วนนี้จะแสดงผลออกมาเมื่อคลิ๊กที่ ตัวเลือกของบทความ ซึ่งเราสามารถตั้งค่าให้บทความที่เรากำัลังสร้างอยู่ขณะนี้สามารถแสดงความคิดเห็น หรืออนุญาตให้มีลิงก์ย้อนกลับหรือไม่ เรายังสามารถตั้งค่าวันที่และเวลาของบทความได้ที่นี่เช่นกัน ถ้าไม่มีการตั้งค่าวันที่และเวลาก็จะแสดงเวลาปัจจุบันของการเขียนหมายเลข 7 ป้ายกำกับสำหรับบทความนี้ ส่วนนี้มีประโยชน์มากในการจัดหมวดหมู่ของบทความ ยกตัวอย่างเช่น เราทำบล๊อกในเรื่องของรถยนต์ ถ้าเรากำลังเขียนเรื่อง โตโยต้า วีออส เราอาจจะใช้ป้ายกำกับคำว่า โตโยต้า และถ้าเป็น ฮอนด้า แจ๊ส ป้ายกำกับของเราก็จะเป็น ฮอนด้า อย่างนี้เป็นต้น

หมายเลข 8 แสดงทั้งหมด เป็นการแสดงป้ายกำกับที่เราเคยสร้างเอาไว้ก่อนหน้า จากภาพข้างล่างนี้ ผมคลิ๊กที่ตัวหนังสือ แสดงทั้งหมด ป้ายกำกับทั้งหมดก็จะแสดงออกมา ในที่นี้ผมยังมีแค่ป้ายกำกับเดียวคือ เริ่มต้นเขียนบล๊อก เวลาจะใช้งานผมก็แค่คลิ๊กที่ตัวหนังสือ เริ่มต้นเขียนบล๊อก ตัวหนังสือป้ายกำกับนี้ก็จะถูกคัดลอกมาที่ช่องหมายเลข 7 เองครับ ข้อดีคือ ไม่ต้องมาพิมพ์ใหม่และไม่มีข้อผิดพลาดในการกำหนดป้ายกำกับหมายเลช 9 เพิ่มเติม ส่วนนี้จะเป็นการบอกการใช้แป้นพิมพ์ลัด เมื่อคลิ๊กแล้วหน้าเว็บใหม่จะถูกแสดงออกมามีรายละเอียดดังนี้

Blogger มีแป้นพิมพ์ลัดหลายแป้นให้คุณใช้ขณะแก้ไขบทความ แป้นพิมพ์เหล่านี้จะทำงานได้อย่างแน่นอนใน Internet Explorer 5.5+/Windows และเบราว์เซอร์ตระกูล Mozilla (1.6+ และ Firefox 0.9+) และอาจทำงานได้ในเบราว์เซอร์อื่นๆ ดังต่อไปนี้:
  • control + b = ตัวหนา
  • control + i = ตัวเอียง
  • control + l = Blockquote (เมื่ออยู่ในโหมด HTML เท่านั้น)
  • control + z = ยกเลิก
  • control + y = ทำซ้ำ
  • control + shift + a = ลิงก์
  • control + shift + p = ดูตัวอย่าง
  • control + d = บันทึกร่าง
  • control + s = เผยแพร่บทความ
หมายเลข 10 เผยแพร่บทความ ใช้เมื่อเราเขียนบทความเสร็จเรียบร้อยแล้ว และบทความนั้นจะถูกนำไปแสดงที่หน้าเว็บไซด์ของเราทันที

หมายเลข 11 บันทึกเป็นฉบับร่าง ใช้สำหรับบันทึกบทความที่เรากำลังเขียนค้างอยู่ โดยยังไม่เผยแพร่บทความขึ้นหน้าเว็บ ถ้าเราเข้าที่เมนูแก้ไขบทความ(ถัดจากบทความใหม่) ก็จะแสดงหน้าตาเหมือนดังภาพ และมีตัวหนังสือคำว่า ร่าง ปรากฎอยู่ ข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตัวหนังสือ ดู ถัดจาก แก้ไข จะไม่มี แสดงว่าบทความนั้นยังไม่ได้เผยแพร่ไปที่หน้าเว็บของเรา
หมายเลข 12 กลับสู่รายการบทความ ก็จะกลับไปยังหน้าเว็บเหมือนรูปข้างบนนี้แหละครับ

0 ความคิดเห็น:

 
TopBottom